ประเภทของพอร์ตขนาน


[ความเป็นมาของพอร์ตขนาน] [พอร์ตแบบปกติ] [พอร์ตแบบ EPP] [พอร์ตแบบ ECP] [พอร์ตแบบ ECP + EPP]

ความเป็นมาของพอร์ตขนาน

ปัจจุบันเนื่องจากคอมพิวเตอร์ถูกพัฒนาให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่วนหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาก็คือ พอร์ตขนาน (Parallel Port) ปกติคอมพิวเตอร์มีพอร์ตขนานหนึ่งพอร์ต ซึ่งรู้จักกันในชื่อของ "พอร์ตสำหรับเครื่องพิมพ์ (Printer Port)" ทั้งนี้ก็เพราะแรกทีเดียวที่ มีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปี 1981 โดย IBM นั้น พอร์ตดังกล่าวถูกสร้างขึ้นสำหรับเครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ ยุคก่อนๆ (เครื่อง ระดับ 486 ลงไป) นั้นส่งข้อมูลไปให้เครื่องพิมพ์แบบทิศทางเดียว (Uni Direction) คือการส่งจากคอมพิวเตอร์ไปเครื่องพิมพ์ โดยมีความเร็ว 150-200 กิโลไบต์ต่อวินาที อย่างไรก็ตามในปี 1991 โดยความร่วมมือของบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ได้แก่ IBM , Laxmark , Texus Instrument ได้ร่วมประชุมตกลง เพื่อปรับปรุงพอร์ตขนาน โดยให้องค์ IEEE เป็นผู้ร่างข้อกำหนดเกี่ยวกับพอร์ตขนานขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากนัก พัฒนาและผู้ใช้งานต่างก็ประสบปัญหาเกี่ยวกับความไม่คล่องตัวในการใช้งานพอร์ตขนาน ปัญหาเหล่านั้นแบ่งออกเป็น 3 ประการ. ประการ แรกคือ ถึงแม้ว่าสถาปัตยกรรมของคอมพิวเตอร์ได้รับการพัฒนาให้คอมพิวเตอร์มีความเร็วเพิ่มขึ้น แต่ในส่วนของพอร์ตขนานยังคงไม่มีอะไร เปลี่ยนแปลง ยังคงส่งข้อมูลด้วยความเร็วเท่าเดิม ประการถัดมาคือการขาดมาตรฐานเกี่ยวกับรูปแบบของการส่งข้อมูลผ่านพอร์ตขนาน และ ประการสุดท้ายคือข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะทางการส่งข้อมูลของพอร์ตขนานไม่สามารถส่งข้อมูลได้ไกลเกิน 2 เมตร ดังนั้นในปี 1991 จึงมีการประชุมระหว่าง Lexmark, IBM, Texas Instruments และผู้ผลิตรายอื่นเพื่อกำหนดมาตรฐาน เกี่ยวกับพอร์ตขนานขึ้น โดยมีองค์กร IEEE เป็นผู้กำหนดมาตรฐาน ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ใช้งานทั่วไป 3 โหมดด้วยกันเนื่องจากเห็นว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ที่ใช้งานปัจจุบันนั้น โดยมากจะมีค่าให้กำหนดเพียง 3 โหมด (สำหรับโหมดที่เหลือที่ไม่ได้นำมากล่าวคือ Nibble และ Byte) ดังต่อไปนี้

1. Normal Mode หรือ SPP Mode (Standdard Parallel Port) เป็นข้อระบุของการส่งข้อมูลจากเคอมพิวเตอร์ไปเครื่องพิมพ์ตามปกติ หรือเรียกว่าเป็นโหมดปกติ ซึ่งเป็นพอร์ตขนานดั้งเดิม ที่ถูก พัฒนามาพร้อมกับเครื่อง IBM นั่นเอง เพียงแต่ได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมโดยคงความเข้ากันได้กับโหมดพอร์ตขนานแบบเดิมไว้ ดังนั้นจึง เรียกกันโดยทั่วไปว่า Compatibiliy Mode หรือ Centronics Mode ข้อสังเกตสำหรับการทำงาน ของโหมดปกติก็คือมีการส่งข้อมูลในทิศ ทางเดียวจากคอมพิวเตอร์ไปยังอุปกรณ์ปลายทาง เครื่องพิมพ์ SPP Mode ถูกพัฒนาให้มีการส่งข้อมูลความเร็วสูงขึ้น ราวประมาณ 500 กิโลไบต์ต่อวินาที ซึ่งเห็นได้ว่าเพียงพอสำหรับเครื่องพิมพ์แบบเข็ม (Dot Matrix) และเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์รุ่นเก่า แต่ไม่เพียงพอสำหรับ การ์ดเครือข่าย หรือสำหรับไดรฟ์แบบเคลื่อนย้ายได้ และเครื่องพิมพ์เลเซอร์รุ่นใหม่

2. EPP Mode (Enhanced Parallel Port) พัฒนาโดย Intel, Xircom and Zenith Data Systems เมื่อปี 1994 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพอร์ตขนาน โดยที่ พอร์ตขนานแบบ EPP ยังคงมีความเข้ากันได้กับแบบ SPP ส่วนที่ได้รับการพัฒนาขึ้นคือ พัฒนาให้มีการรับส่งข้อมูลสองทิศทางที่ความเร็วสูง ขึ้น 500 กิโลไบต์ถึง 2 เมกะไบต์ต่อวินาที ทั้งนี้เพื่อใช้งานพอร์ตขนานกับอุปกรณ์อื่นๆนอกเหนือไปจากเครื่องพิมพ์ อุปกรณ์ที่นำมา ใช้กับพอร์ตขนานแบบ EPP คือ ฮาร์ดดิสก์ การ์ดเครือข่าย คุณสมบัติของ EPP คือ สามารถส่งข้อมูลได้ 2 ทิศทาง (Bi-directional) และความ เร็วในการส่งข้อมูลมากขึ้น ประโยชน์ของการส่งข้อมูลแบบสองทิศทางคือทำให้การสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่อพ่วงที่นำมา ใช้งานกับพอร์ตขนานดังกล่าวได้ ทำให้สามารถตรวจสอบสถานะและรายงานสถานะการทำงานไปยังคอมพิวเตอร์ได้ จากการพัฒนาดัง กล่าวส่งผลให้ผู้ผลิตเครื่องพิมพ์หลายรายโดยเฉพาะเครื่องพิมพ์ประเภทเลเซอร์และเครื่องพิมพ์ประเภทฉีดหมึกต่างก็พัฒนาเครื่องพิมพ์ของ ตนให้สามารถใช้ประโยชน์จากพอร์ตขนาดแบบใหม่ได้ เช่น พิมพ์งานเร็วมากขึ้นและมีการตรวจสอบสถานะการทำงานของเครื่องพิมพ์ ทุกๆระยะ เช่น ตรวจสอบว่าเครื่องพิมพ์อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่มีกระดาษสำหรับพิมพ์งานหรือไม่ รวมไปถึงการตรวจสอบปัญหา ความผิดพลาดต่างๆและแสดงข้อความบอกสถานะนั้นบนหน้าจอของคอมพิวเตอร์ เช่น Out of Paper , Cover Open ON ซอฟต์แวร์ควบคุม การพิมพ์บางรายถึงขนาดแจ้งวิธีการแก้ปัญหาแบบขั้นตอน (Step by Step) บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ใช้งานสามารถแก้ ปัญหาได้ด้วยตนเอง

3. ECP Mode (Extended Capabilities Port ) ECP ถูกเสนอโดย Hewlett Packard และ Microsoft เพื่อนำมาใช้งานกับเครื่องพิมพ์และสแกนเนอร์รวมไปถึงอุปกรณ์ต่อพ่วง (Peripheral) อื่นๆ ECP สามารถใช้ DMA Channel (Direct Memory Access Channel) ได้ซึ่งทำให้ความเร็วการส่งข้อมูลเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่ต้องรอเวลาเมื่ออุปกรณ์ที่นำมาต่อพอร์ตขนานต้องการเข้าถึงหน่วยความจำในขณะเดียวกันก็ลดการขัดจังหวะการทำงาน ของไมโครโปรเซสเซอร์ ความเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 2 เมกะไบต์ต่อวินาที เครื่องพิมพ์รุ่นใหม่ๆ หลายรุ่นปัจจุบันสามารถใช้งานโหมด ECP ซึ่งทำให้สามารถส่งข้อมูลสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้มากขึ้น แสดงสถานะการทำงานและทำการตรวจสอบการทำงานของตัวเองได้

4. ECP+ EPP Mode คือการนำโหมดทั้งสองมารวมกัน

การกำหนดประเภทพอร์ตขนาน ปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาใช้งานจะมีพอร์ตขนานทุกโหมดบนเมนบอร์ดอยู่แล้ว แต่ต้องกำหนดในไบออสว่าต้องการให้ พอร์ตขนานของคอมพิวเตอร์นั้นมีโหมดการทำงานเช่นไร ทั้งนี้เนื่องจากเครื่องพิมพ์ที่นำมาใช้งาน หรืออุปกรณ์ที่นำมาใช้ งานกับพอร์ตขนานนั้นๆ กำหนดว่าต้องใช้งานกับพอร์ตขนาดประเภทใด ในที่นี้จะยกตัวอย่างเฉพาะคอมพิวเตอร์ที่ใช้ BIOS ที่ผลิตโดย Awards สำหรับคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไบออสที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นสามารถดูได้จากคู่มือว่าจะเปลี่ยนโหมดของพอร์ตขนานได้อย่างไรการเลือก ประเภทให้พอร์ตขนานใช้งานกับคอมพิวเตอร์ ทำได้โดยการ SETUP BIOS ของคอมพิวเตอร์ตามขั้นตอนต่อไปนี้


ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเอกสารต่างๆ

  1. http://www.fapo.com/ecpmode.htm
  2. http://www.doc.ic.ac.uk/~ih/doc/par/doc/intro.html
  3. http://www.fapo.com/eppmode.htm


Copyright By Kraingkai Hunsaknatai


ข้อมูลภาษาไทยในหน้านี้ผ่านการ ตัดคำโดย บริการตัดคำสำหรับโฮมเพจภาษาไทย